Airlink WiFi Hotspot V.1.0.1a

software open source


ส่วนของซอฟแวร์และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องถูกดัดแปลงและแก้ไขให้ทำงานเฉพาะตัวสำหรับ Airlink เท่านั้น โปรแกรมนี้ทำงานบน Ubuntu 12.04 amd64 Server เท่านั้นหากคุณเลือกใช้เวอร์ชั่นไม่ถูกต้อง โปรแกรมจะไม่สามารถติดตั้งได้สมบูรณ์ โปรแกรมนี้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความตั้งใจจะให้เป็น open source หากคุณพบเห็นใครนำไปขาย แอบอ้างกรุณาติดต่อมาที่ https://www.facebook.com/sartonice หรือ www.airlink.in.th

คุณจำเป็นต้องกรอกแบบสอบถามก่อนถึงจะเห็นลิ้งค์ดาวน์โหลดโปรแกรม Airlink การตอบแบบสอบถามที่เป็นจริงและละเอียด จะช่วยให้เรานำข้อมูลมาพิจารณา การพัฒนาโปรแกรมต่อไปหวังอย่างยิ่งว่าทุกคนจะให้ความร่วมมือ

ดาวน์โหลด ได้ที่นี่

Airlink คือหนึ่งในโปรแกรม WiFi Hotspot ที่ทำงานได้ดีที่สุดตัวหนึ่งมันมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบจัดการส่วนต่างๆได้อย่างอิสระ รูปแบบที่หลากหลายและความสวยงามของส่วนแสดงผลทำให้โปรแกรมโดดเด่นและน่าใช้งาน เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับ Web design ถูกนำมาใช้ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้โปรแกรมมีความเร็วและใช้งานได้ง่าย

Airlink ถูกนำไปใช้งานจริงในหน่วยงานราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล หน่วยทหาร โรงแรม และงานบริการส่วนบุคคล ที่มีผู้ใช้งานไม่ต่ำกว่า 300 คน ซึ่งโปรแกรมทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา นี่คือความสามารถและความมั่นใจของผู้ดูแลระบบที่มีต่อโปรแกรมเสรีตัวนี้ 

Airlink ถูกออกแบบให้มี 2 ส่วนใช้งานคือ ผู้ดูแลระบบและส่วนของผู้ใช้งาน

-:- ผู้ดูแลระบบ -:-

  • Dashboard ส่วนรายงานข้อมูลการทำงานของโปรแกรมและการใช้ทรัพยากรของ server ที่คุณใช้แบบ Real-time และการรายงานสถิติการเข้าใช้งาน และบัตรที่ถูกใช้งาน เซอร์วิสต่างๆที่จำเป็นต่อการทำงานโดยรวม
  • ปุ่มบริการจัดการเซอร์วิสต่างๆ ที่จะให้คุณควบคุมการทำงานของโปรแกรมได้อย่าง่ายดาย เช่น ปิดเครื่อง,รีสตาร์ทเครื่อง และจัดการโปรแกรมต่างๆที่จำเป็น
  • สถิติการใช้งานแบนด์วิด สามารถบอกคุณให้ทราบถึงปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งานต่อวัน,สัปดาห์,เดือน
  • คุณสามารถสร้างกลุ่มผู้ใช้งานได้ไม่จำกัด 
  • -- คุณสามารถกำหนดความเร็วดาวน์โหลด-อัพโหลดของผู้ใช้งาน
  • --คุณสามารถกำหนดเวลาการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานได้
  • --คุณสามารถกำหนด url ที่จะรีได้เร็คเมื่อล็อกอินสำเร็จได้
  • --คุณสามารถกำหนดจำนวนเครื่องที่จะให้ใช้งานต่อคนได้
  • --คุณสามารถกำหนดเวลาในการตัดการเชื่อมต่อเมื่อผู้ใช้งานไม่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
  • --คุณสามารถกำหนดลำดับการวางขายของกลุ่มที่คุณสร้าง หรือไม่แสดงชื่อกลุ่มที่ไม่ต้องการขายได้
  • --คุณสามารถแก้ไขคุณสมบัติของกลุ่มผู้ใช้ได้ทันที ที่คุณต้องการ
  • --คุณสามารถออกแบบบัตร เลือกรูปแบบบัตร สีตัวอักษร แบบตัวอักษร ตำแหน่งของตัวอกษร ได้อย่างอิสระ
  • คุณสามารถเพิ่มผู้ใช้งานได้รายคนกำหนดคุสมบัติของผู้ใช้งานได้อย่างอิสระ
  • คุณสามารถสุ่มสร้างบัตรผู้ใช้งานตามกลุ่มผู้ใช้งาน ตามคุณสมบัติของกลุ่มที่คุณสร้างขึ้นมา
  • คุณสามารถกำหนดอักษรนำหน้าการสร้างบัตรได้
  • คุณสามารถเลือกรูปแบบของรหัสผ่านได้
  • คุณสามารถกำหนดและสร้างรูปแบบการใช้งานได้ดังนี้
  • รายชั่วโมง , ชั่วโมง/ครั้ง , ชั่วโมง/วัน , ชั่วโมง/เดือน , รายวัน , รายเดือน , ตามปริมาณที่ใช้ , ตามปริมาณที่ใช้/วัน , ปริมาณที่ใช้/เดือน  
  • คุณสามารถเพิ่มประกาศหน้าล็อกอินได้อย่างอิสระผ่านการแสดงผลของ Jquery UI ที่สวยงาม
  • คุณสามารถเพิ่มประกาศที่จะให้แสดงผลในหน้า Pop up ของผู้ใช้งานได้อย่างอิสระ
  • คุณสามารถส่งข้อความถึงผู้ใช้งานได้ทุกคน
  • คุณสามารถเพิ่มจุดเชื่อมต่อ หรือจุดปล่อยสัญญานได้
  • คุณสามารถสร้างหน้า ชวยเหลือหรือการใช้งานได้
  • หน้าแสดงผู้ใช้งานที่กำลังออนไลน์อยู่ คุณจะรู้ถึงปริมาณที่ใช้งาน รายละเอียดของผู้ใช้งาน
  • คุณสามารถตัดการเชื่อมต่อผู้ใช้งานได้ทันที ที่ต้องการ
  • สถิติรายได้ที่คุณต้องการ คุณจะรู้ถึงรายได้ต่อวัน เดือน ปี และการเลือกซื้อแพ็คเกจของผู้ใช้งาน
  • อุปกรณ์ที่กำลังเชื่อมต่อกับเครือข่ายของคุณอยู่ คุณสามารถจัดการกับทุกๆอุปกรณ์ที่กำลังเชื่อมต่อกับเครือข่ายของคุณได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยผ่าน , การบล็อก เป็นต้น
  • การตั้งค่าเน็ตเวิร์คของคุณ
  • --คุณสามารถเปลี่ยนแปลงคลาสของไอพีระบบของคุณได้ทันที ที่คุณต้องการ
  • --คุณสามารถกำหนดอุปกรณ์ที่ต้องการให้เข้าใช้งานโดยไม่ต้องล็อกอินได้ทันที (Wall Garden)
  • --คุณสามารถกำหนดคุณสมบัติการทำงานของระบบ Captive Portal ได้อย่างอิสระ
  • --และอื่นๆที่คุณสามารถทำได้ผ่าน Web config ของ Airlink
  • การตั้งค่าทั่วไปของระบบ
  • --กำหนดชื่อของ WiFi Hotspot ของคุณ
  • --กำหนดจำนวนสูงสุดที่สามารถสร้างบัตรได้
  • --กำหนดระบบ Force Redirect
  • --เปิด/ปิด ระบบลงทะเบียน
  • --การเติมเงินด้วยระบบทรูมันนี่
  • --การกำหนดรูปแบบของ Hotspot คุณสามารถเลือกรูปแบบการแสดงผลด้วยธีมต่างๆ มากกว่า 5 ธีม
  • --กำหนดภาษาหลักหน้าเว็บ ไทย-อังกฤษ (อย่างไรก็ตามผู้ใช้งานสามารถเลือกรูปแบบภาษาที่ต้องการได้เอง)
  • --กำหนดรูปแบบของส่วนแสดงผลในอุปกรณ์โมบาย
  • --กำหนดการติดต่อ ที่อยู่ อีเมล์และเบอร์โทรศัพท์ของคุณ
  • ระบบตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้งานและการติดตามผู้ใช้งานว่าใช้ส่วนใดของระบบบ้าง
  • และคุณสมบัติอื่นๆอีกมากมายที่คุณจะไม่เคยพบในโปรแกรมใดๆ มาก่อน

-:- ส่วนผู้ใช้งาน -:-

  • ระบบแสดงผลหน้าล็อกอินที่แยกกันระหว่าง Desktop และ Mobile อย่างอิสระ
  • การแสดงผลแบบ Responsive สามารถทำงานได้ดีกับเว็บบร๊าวเซอร์ทุกตัว และปรับขนาดให้อัตโนมัติสำหรับหน้าจอทุกขนาด
  • ระบบแสดงผล 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ สามารถเลือกการแสดงผลได้ด้วยผู้ใช้งาน
  • ระบบส่งข้อความถึงผู้ดูแลระบบ
  • สามารถเลือกซื้อแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตได้ด้วยตัวเอง
  • สามารถติดตามการเข้าใช้งานระบบได้ด้วยตัวเอง
  • เติมเงินเข้าระบบด้วยบัตรอินเทอร์เน็ตและระบบ ทรูมันนี่
  • รายงานคุณสมบัติของผู้ใช้งาน
  • ระบบเคลียร์ผู้ใช้งานด้วยตัวเอง
  • สมัครสมาชิกและระบบป้องกันการสุ่มรหัสบัตรประชาชน
  • User Dashboard ของผู้ใช้งาน
  • อื่นๆอีกมากมายที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานของคุณ

ฟรี! และไม่มีเงื่อนไขแอบแผงใดๆ ทั้งสิ้น Airlink พัฒนาต่อยอดมาจาก Mini Hotspot ที่ถูกพัฒนาต่อมาจาก Easy Hotspot อีกที ซึ่งรูปแบบของโปรแกรมฟังก์ชั่นและการทำงานได้ถูกปรับเปลี่ยนและมีความสามารถเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่า สิ่งนี้ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ ด้วยความตั้งใจจริง และหวังว่าโปรแกรมนี้จะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกในการใช้ระบบที่ดี แต่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เราพยายามพัฒนาระบบให้มีความสามารถเทียบเท่า โปรแกรมที่ขายในท้องตลาด เราพยายามที่จะทำให้ระบบแตกต่างจากโปรแกรมทั่วๆไป โดยเน้นความสวยงามและความเร็วในการทำงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้โปรแกรมนี้เป็น Open Source ที่ดีอย่างสมบูรณ์แบบ

หากคุณพึงพอใจในความสามารถของโปรแกรมสามารถสนับสนุนเราได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชี

ธนาคาร ไทยพาณิชย์

เลขที่ 737-259398-5 สาขา ห้าแยกฉลอง ออมทรัพย์

ชื่อบัญชี Wanchaloem Tongy.

ธนาคาร กสิกรไทย

เลขที่ 494-2-12138-0 สาขาห้าแยกฉลอง ออมทรัพย์

ชื่อบัญชี Wanchaloem Tongy.

หรือสนับสนุนผ่านทาง บัตรเติมเงินทรูมันนี่ ที่ https://www.tmtopup.com/topup/?uid=28318

 

#######################################################################
#  เราไม่มีนโยบาย เรียกร้อง/รีดไถค่าใช้จ่ายหรือการระดมทุนใดๆ กรุณาอย่าหลงเชื่อหากมีการแอบอ้าง   #
#######################################################################

 

Airlink ถูกสร้างด้วย PHP Framework และทำงานบน UBUNTU 64bit เท่านั้น ดังนั้นจึงมีความเร็วในการประมวลผลที่สูงมาก แต่อย่างไรก็ตามโปรแกรมก็ต้องอาศัยการทำงานของโปรแกรมที่เกี่ยวข้องหลายรายการและมีการจัดเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูลทุกๆ 3 ชั่วโมง ดังนั้นเราจึงแนะนำคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ที่เหมาะแก่การดึงประสิทธิภาพของโปรแกรมให้มีศักภาพมากที่สุด ดังนี้

  • ซีพียู Core2 Duo หรือสูงกว่า
  • แรม 4GB หรือมากกว่า
  • ฮาร์ดดิส Solid State Drive (SSD) 64GB หรือมากกว่า (คุณสามารถเลือกใช้ Harddisk SATA 2-3 แทนได้)
  • เมนบอร์ด Socket 775 หรือ อาจจะใช้เมนบอร์ดที่สูงกว่าแต่ต้องคำนึงถึงซีพียูที่รองรับการประมวลผลแบบ 64bit
  • พาวเวอร์ซัพพลาย เปรียบเสมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่าคุณต้องเปิดเครื่องใว้ตลอดเวลาดังนั้นการเลือกอุปกรณ์ส่วนนี้จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยรวม 
  • เครื่องสำรองไฟ หรือ UPS 

Codeigniter แยกแยะระหว่างส่วนของโปรแกรมของมันเองและส่วนของโปรแกรมที่เราพัฒนาขึ้นมาดังนั้นคุณควรรู้จักที่อยู่ของไฟล์ต่างๆเพื่อใช้ในการปรับแต่งรูปแบบให้เข้ากับระบบของคุณเอง

   ไฟล์ทั้งหมดจะอยู่ใน /opt/hotspot/admin/ และต่อไปนี้คือโฟลเดอร์ที่คุณต้องรู้จัก

  • assets คือส่วนที่เก็บรูปแบบของการแสดงผลหน้าแอดมิน จะประกอบไปด้วย CSS และ JAVA เป็นส่วนใหญ่
  • backup ไม่ได้ใช้งานขณะนี้
  • images ใช้เก็บไฟล์ภาพส่วนแสดงผลหน้าผู้ใช้งาน
  • mpay ยังไม่ได้ใช้งาน
  • opt ใช้เก็บไฟล์ที่บล็อกผู้ใช้งานจากระบบ
  • system ส่วนของโปรแกรมที่ใช้ในการทำงานและประมวลผลทั้งหมดที่เราใช้งาน
  • --air ส่วนของโปรแกรม airlink 
  • --cache ส่วนเก็บเคชไฟล์ปกติไม่ใช้
  • --config ส่วนการตั้งค่าระบบโดยรวม
  • --controllers ส่วนการควบคุม 
  • --core ส่วนของรูปแบบการแสดงผล
  • --errors หน้าแสดงข้อผิดพลาด
  • --fonts รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ในการสร้าง PDF
  • --helpers ส่วนช่วยเหลือการทำงานระบบส่วนมากใช้ในการติดต่อกับ coova,freeradius และการเรียกใช้คำสั่งพิเศษต่างๆ
  • --hooks ไม่ได้ใช้งาน
  • --language ไฟล์ภาษาที่ใช้ในการแสดงผลหน้าเว็บ
  • --libraries ใช้เก็บคลาสต่างๆที่ใช้งานอยู่บ่อยครั้ง
  • --logs รายละเอียดข้อผิดพลาด และการทำงานของโปรแกรม
  • --models ใช้ติดต่อกับฐานข้อมูลเป็นส่วนใหญ่
  • --plugins ไม่ได้ใช้
  • --third_party ไม่ได้ใช้
  • --views ส่วนแสดงผลทั้งหมดของหน้าเว็บ
  • templates ใช้เก็บรูปแบบทั้งหมดที่แสดงผลหน้าเว็บไม่ว่าจะเป็นมือถือหรือ Desktop
  • tmp ใช้เก็บไฟล์ชั่วคราวเมื่อโปรแกรมทำงานเสร็จแล้วไฟล์ในส่วนนี้จะถูกลบทิ้งทันที
  • true ฟังก์ชั่นเติมเงินด้วย true money
  • upload ใช้เก็บ ข้อมูลที่ถูกสำรองใว้ทั้งหมดในระบบ 

ไฟล์และโฟลเดอร์ที่คุณต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้เป็นของคุณเองส่วนใหญ่จะเป็น templates,language

ไฟล์ภาษาที่แสดงหน้าเว็บจะเป็น english_lang.php และ thai_lang.php

การติดตั้งในตัวอย่างนี้ใช้โปรแกรม SSHSecureShellClient-3.2.9

เมื่อคุณดาวน์โหลดมาแล้วให้ติดตั้งลงเครื่องในรูปแบบปกติ

การใช้คำสั่งเพื่อแก้ไขค่าต่างๆจะใช้โปรแกรม nano 

เมื่อผมพูดถึง การบันทึกค่านั่นหมายถึงการกด Ctrl + O แล้วกด Enter

เมื่อผมพูดถึงการออกจากการแก้ไขค่าหมายถึงการกด Ctrl + x 

1. ทำการเชื่อมต่อเข้า server ด้วย root ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.ตั้งค่าการ์ดแลนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ด้วยคำสั่ง  nano /etc/network/interfaces

บันทึกค่า และ ออกจากการแก้ไข

สั่งเรื่มการทำงานเน็ตเวิร์คใหม่ด้วยคำสั่ง /etc/init.d/networking restart

คุณไม่จำเป็นต้องแก้ไขค่าให้ได้ตามตัวอย่าง สมมุติ คุณใช้ modem router ที่มีไอพีเป็นคลาส 192.168.1.0/24 (ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่นิยมใช้งานกัน) คุณจะต้องตั้งค่าสำคัญดังนี้

auto eth0
iface eth0 inet static
   address 192.168.1.5
   netmask 255.255.255.0
   gateway  192.168.1.1
   dns-nameserver 192.168.1.1


*ต้องมีอินเทอร์เน็ตการติดตั้งถึงจะสมบูรณ์

3.ตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยคำสั่ง  ping google.com -w 4

หากสามารถเชื่อมต่ออิเทอร์เน็ตได้จะได้ดังรูป หากไม่ตรวจสอบการตั้งค่าเน็ตเวอร์คและสายแลนจาก modem router ของคุณ

4. เปิดโปรแกรม Secure File Transfer Client ขึ้นมาแล้วนำไฟล์ Airlink-install-ubuntu12.04LTS_amd64.tar.gz อัพขึ้น server โดยนำไฟล์ใว้ที่ /root

5. แตกไฟล์ ด้วยคำสั่ง tar -zxvf Airlink-install-ubuntu12.04LTS_amd64.tar.gz

จะได้ดังภาพ 

ให้สิทธิ์ของไฟล์ที่จำเป็นต่อการติดตั้งสามารถ Excute ได้ด้วยคำสั่ง chmod +x *.sh

6.เริ่มการติดตั้งโปรแกรม Airlink ด้วยคำสั่ง ./install.sh

โปรแกรมจะเรื่มการติดตั้ง Kernel ของ Airlink ดังภาพเมื่อเสร็จแล้วระบบจะรีสตาร์ทและเข้าเราเชื่อมต่อเข้า server ใหม่อีกครั้งหนึ่ง หากขั้นตอนนี้ไม่มีข้อผิดพลาดแสดงว่าคุณสามารถติดตั้ง kernel ของ airlink ได้ไม่มีปัญหา

7. ใช้คำสั่ง ./install.sh อีกครั้ง

โปรแกรมจะเริ่มการทำงานใหม่และอัพเดทระบบ ติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็นดังรูป

8.สคริปจะให้เลือกโปรแกรมที่จำเป็นต่อการทำงาน เลือกดังรูปด้วยปุ่ม space bar และกด tab มาที่ ok แล้วกด Enter

9.โปรแกรมจะอัพเกรดจาก MySql เป็น MariaDb 5.5. ให้คุณดังรูป กด y แล้วกด Enter

ขั้นตอนนี้อาจจะใช้เวลานานหน่อย เพราะต้องอัพเดทโปรแกรมหลายส่วน

10.เมื่อติดตั้ง MariaDB เสร็จแล้วระบบจะให้ใส่รหัสผ่านฐานข้อมูลใหม่อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อใส่แล้วกด tab ไปที่ ok กด Enter

11.ใส่ชื่อ Hostname เพื่อสร้าง SSL Cert.

ในที่นี้ใส่ airlink หลังจากนั้นโปรแกรมจะแตกไฟล์ของระบบให้เรา

12.เมื่อแตกไฟล์เสร็จแล้วให้เราใส่รหัสผ่านฐานข้อมูลเพื่อ import ไฟล์ .sql เข้าฐานข้อมูล

13.ติดตั้ง Proftpd เพื่อให้เราสามารถใช้งาน ftp ได้ เลือก standalone

14.ติดตั้งโปรแกรม phpmyadmin เพื่อเข้าจัดการฐานข้อมูล เลือก apache

15. กด n แล้วกด Enter

16. ตั้งค่ารหัสผ่านของ phpmyadmin กับ ฐานข้อมูลให้ตรงกันเลือก Yes

17. ใส่รหัสฐานข้อมูลให้ตรงกัน 3 ครั้ง

เสร็จเรียบร้อยสำหรับการติดตั้งโปรแกรม Airlink 1.0.1a ระบบจะรีสตาร์ทตัวเองหลังจากนั้นก็พร้อมใช้งาน

หากคุณใส่รหัสผ่านฐานข้อมูลผิดคุณสามารถเรียกใช้สคริปเปลี่ยนแปลงรหัสผ่านได้ดังนี้

./mysql_pass.sh

 

######################################################################################

หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วเราต้องการตรวจสอบข้อมูลต่างๆว่าโปรแกรมได้ทำงานตามที่สมควรหรือไม่

1.ล็อกอินเข้าระบบใหม่อีกครั้งใช้คำสั่ง ifconfig

หากมีรายการดังต่อไปนี้ถือว่าระบบทำงานสมบูรณ์ imq0 , imq1  tun0

2. ทดสอบเข้าส่วนจัดการของผู้ดูแลระบบ https://192.168.1.5/admin

ชื่อผู้ใช้คือ airlink รหัสผ่านคือ admin

3.หน้า Admin Dashboard บอกรายละเอียดต่างๆของระบบ

4.ทดลองเปลี่ยนคลาสไอพีที่ การตั้งค่า Network 

จากเดิม 172.0.0.0/22 เราจะลองเปลี่ยนเป็น 10.0.0.0/22

ที่เมนูย่อย เน็ตเวิร์คและพร๊อกซี่ เปลี่ยนแปลงค่าที่ Server Address เป็น 10.0.0.1

ที่เมนูย่อย ลูกข่ายและเกตเวย์ เปลี่ยนแปลงค่าที่ Static IP Start เป็น 10.0.0.50 ที่ IP Address Start เปลี่ยนเป็น 10.0.0.100

กด บันทึกค่า ระบบจะต้องแจ้งดังรูป

ไปที่เมนู  Advance Cache ที่ Local Network Security จะต้องเปลี่ยนเป็น 10.0.0.0/255.255.252.0 ตามคลาสไอพีที่เราใช้งาน

5. ทดลองสร้างผู้ใช้งานและทดสอบการทำงานของ Radius

หากระบบคุณทำงานสมบูรณ์จะได้ข้อความตอบกลับ จาก Rad Recive ดังภาพ 

-:- หากการทำงานของระบบเป็นเช่นนี้แสดงว่าทุกอย่างพร้อมที่จะเปิดให้บริการแล้ว ท่านสามารถสร้างกลุ่มผู้ใช้งาน ตั้งค่าระบบ และแก้ไขค่าอื่นๆที่ท่านต้องการได้ด้วยตัวเอง -:-

 

การเติมเงินด้วยระบบทรูมันนี่ต้องทำการติดตั้งและตั้งค่าระบบบางส่วนนี่คือตัวอย่างการติดตั้งโปรแกรมและการตั้งค่าที่สำคัญต่อระบบ

ส่วนสำคัญที่จำเป้นต่อการทำคือคือ Noip.com และ Tmtopup.com

การตั้งค่าที่ Noip

  1. ไปที่เว็บไซต์ http://www.noip.com ล็อกอินเข้าสู่ระบบ หากไม่มีให้สมัครสมาชิก
  2. ไปที่ http://www.noip.com/members/dns/  กดปุ่ม Add A Host

ตั้งชื่อ Host name ที่คุณต้องการดังรูป แล้วกด Add Host

     3.ไปที่เมนู Manage Groups เลือก Add A group

สร้างชื่อกลุ่มด้วยคำง่ายๆ สั้นๆ และเพิ่ม Host ที่เราสร้างเข้ากลุ่มดังรูป

   4.ไปที่เว็บไซต์ tmtopup.com ล็อกอินเข้าสู่ระบบหากไม่มีบัญชีให้สมัครสมาชิก

ตัวเลข 5 ตัวที่มาร์คใว้คือ Tmtopup User ID ที่คุณต้องนำไปใส่ใน การตั้งค่าทั่วไป -> การเติมเงิน

  6. ไปที่ การตั้งค่าการเติมเงิน
 

  • ชื่อผู้รับชำระ : ชื่อ WiFi ของคุณ
  • ชื่อตัวแปร 1 : อีเมล์ของคุณ
  • ชื่อตัวแปร 2 : เบอร์โทรของคุณ
  • ชื่อตัวแปร 3 : Custumer
  • URL ภาพโลโก้ : ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง
  • URL แสดงข้อความขอบคุณ : https://172.0.0.1/admin/true [ https:// ค่านี้ห้ามเปลี่ยนแปลง ] , [ 172.0.0.1 ไอพี server ที่คุณเลือกใช้ค่านี้ต้องตรงกับ Server Address ในเมนู ตั้งค่า Network ] , [ /admin/true ห้ามเปลี่ยนแปลง ]
  • URL แสดงข้อความขอบคุณ : ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง
  • API URL : https://airwifi.zapto.org/admin/true/tmtopup_api.php  [ https://airwifi.zapto.org คือชื่อโฮสที่คุณสร้างขึ้นใน NOIP]
  • API Passkey : ตั้งค่าตัวเลขหรืออักษรตามความต้องการเพื่อใช้ทำงานร่วมกับ API

 7. ไปที่หน้าแอดมิน การตั้งค่าทั่วไป -> การเติมเงิน

นำค่า TMTOPUP ของคุณใส่ไปดังภาพ

 8. ทำการ Forward Port ของ Router ของคุณที่ต้องใช้คือ 80 และ 443 ไปที่ Server airlink ดังตัวอย่าง

รอการอัพเดทประมาณ 10-15 นาที แล้วลองเรียกหน้าเว็บผ่าน โอสของเราดู

 

จะสามารถเข้าใช้งานได้ดังภาพ 

    9.ติดตั้ง NOIP บน Server UBUNTU 12.04 LTS จะไม่สามารถติดตั้งผ่าน apt-get ได้แบบปกติ แต่เราสามารถติดตั้งผ่าน wget ได้ด้วยตัวเอง

เริ่มการติดตั้ง NOIP ด้วยคำสั่งดังต่อไปนี้

  • cd /usr/local/src/
  • wget http://www.no-ip.com/client/linux/noip-duc-linux.tar.gz
  • tar xf noip-duc-linux.tar.gz
  • cd noip-2.1.9-1/
  • make install

จะได้ดังภาพ

ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการตั้งค่า NOIP ของคุณ

  • กด 0 เพื่อเลือก eth0 แล้วกด Enter
  • ใส่ชื่อผู้ใช้งานหรืออีเมล์ที่ใช้สมัครสมาชิกกับ NOIP
  • ใส่รหัสผ่านของคุณ
  • Only one group [airlink] is registered to this account. หากคุณมีกลุ่มใช้งานเพียงแค่กลุ่มเดียวระบบจะเลือกให้เราอัตโนมัติ แต่หากคุณมีมากกว่า 1 กลุ่ม คุณต้องเลือกกลุ่มที่มีโฮสของ Airlink
  • update interval คือให้อัพเดทไอพีทุกกี่นาที ค่าปกติคือ 30 (แนะนำ)
  • Do you wish to run something at successful update กด N แล้ว Enter

หากระหว่างการตั้งค่าเกิดมีข้อผิดพลาดคุณสามารถสร้างการตั้งค่าใหม่ด้วยคำสั่ง /usr/local/bin/noip2 -C

1. ต่อสายแลนเข้ากับระบบทางฝั่งของ Hotspot เราจะได้ไอพีที่ตั้งใว้ดังภาพ แบบ DHCP

2. ทดลองตั้งค่าไอพีแบบ static

3. ลองเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตระบบจะ Redirect มาหน้าล็อกอินก่อนเสมอ

4. ทดสอบเข้าระบบด้วยชื่อผู้ใช้งานที่สร้างใว้

-:- จะเห็นว่า ไม่ว่าเราจะตั้งไอพีแบบ static เราก็ยังต้องผ่านระบบ cative portal ก่อนทุกครั้ง -:-

Airlink ของเราได้ทำการปรับปรุงการทำงานของ SQL และ Apache (Optimizer)ให้มีความสามารถและการทำงานที่ดีเยี่ยมต่อการใช้งานจริง จึงมีความแม่นยำในการตัดเวลาตามจริงที่คุณกำหนด

 

 

แน่นอนว่าไม่มีอะไรในโลกนี้สมบูรณ์แบบการทำงานของ Airlink ก็เช่นเดียวกันอาจจะพบข้อผิดพลาด หรือบกพร่องได้ดังนั้นเราจึงนำการแก้ปัญหาพื้นฐานและพบบ่อยครั้งในการใช้งานจาก การรายงานเข้ามาของผู้ใช้งานจริง ปัญหาเหล่านี้อาจจะเกิดหลังติดตั้ง หรือหลังจากใช้งานจริงแล้วก็ได้

คุณใช้อินเทอร์เน็ตของ 3BB หรือไม่?

  • หากใช่ ให้คุณทำตามขึ้นตอนต่อไปนี้เพื่อรีดเอาความเร็วสูงสุดของอินเทอร์เน็ตออกมา
  1. nano /etc/resolv.conf ตรวจสอบดูว่า มีค่า nameserver 127.0.0.1 หรือไม่ ถ้ามีลบออก
  2. nano /etc/network/interfaces ตรวจสอบดูว่า dns-nameservers เป็น ไอพีของ modem router คุณหรือไม่ หากไม่ ให้ใส่ไอพีของ modem router คุณไปเช่น dns-nameservers 192.168.1.1
  3. ไปที่หน้าแอดมินเมนู ตั้งค่า Network -> ลูกข่ายและเกตเวย์ ที่ช่อง DNS1 และ DNS2 ต้องใส่ค่านี้  110.164.252.222 และ 110.164.252.223 ตามลำดับ
  4. nano /etc/squid3/squid.conf ที่ค่า dns_nameservers ต้องใส่ 110.164.252.222,110.164.252.223 เช่นเดียวกัน dns_nameservers 110.164.252.222 110.164.252.223
  5. รีสตาร์ทเครื่องเริ่มการทำงานใหม่

ได้รับไอพีถูกต้อง แต่ระบบไม่ redirect ไปหน้าล็อกอิน หรือ ไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้?

  • nano /etc/chilli/fw_reload.sh
  1. HS_WANIF= มีชื่อขาแลนที่ใช้ต่ออินเทอร์เน็ตหรือไม่ ถ้าไม่ใส่ไปเช่น HS_WANIF=eth0
  2. HS_NETWORK= คลาสไอพีที่คุณใช้มีหรือไม่ถ้าไม่ใส่ไป เช่น HS_NETWORK=10.0.0.0
  3. HS_NETMASK= เป็นคลาสที่คุณเลือกใช้งานหรือไม่ถ้าไม่เปลี่ยนแปลง
  • เช็คการทำงานของ Squid ว่าทำงานปกติหรือไม่ด้วยคำสั่งและขั้นตอนดังนี้
  • squid3 -X หากไม่มีข้อผิดพลาดระบบจะไม่รายงานผลใดๆ แต่หากมีข้อผิดพลาดระบบจะแจ้งส่วนที่มีปัญหาให้เราทราบทันที
  • grep cache_dir /etc/squid3/squid.conf หากปกติจะได้ดังนี้
cache_dir aufs /var/spool/squid3 20000 45 256
  • netstat -tulpn | grep :3128
tcp        0      0 0.0.0.0:3128            0.0.0.0:*               LISTEN      992/squid3
  • หากคุณไม่สามารถสั่งให้ Squid ทำงานได้หรือ Squid ทำงานแต่อาจมีปัญหา คุณอาจจะต้องลบเคชทั้งหมดทิ้งไปแล้วสร้างใหม่ด้วยขั้นตอนนี้
  • /etc/init.d/squid3 stop
  • rm -Rf /var/spool/squid3/
  • mkdir /var/spool/squid3/
  • chown -R proxy.proxy /var/spool/squid3/
  • squid3 -z
  • /etc/init.d/squid3 start

หากการทำงานของ Squid ไม่มีปัญหาเราต้องลองใช้ระบบ Routing ของ IPTABLES ดูว่าสามารถทำงานได้หรือไม่ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

  • nano /etc/chilli/control.sh
SQUID="SQUIDON" เปลี่ยนเป็น SQUID="SQUIDOFF"
  • sh /etc/chilli/fw_reload.sh จะได้ข้อความดังนี้
 --------------------------------------------
 | FIREWALL START COMPLETE | 
 --------------------------------------------

หลังจากนั้นทดสอบการใช้งานดูว่าลูกข่ายสามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่ หากไม่ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆในกลุ่มหรือที่เว็บไซต์ของเรา

ไม่สามารถล็อกอินเข้าใช้งานได้?

  • ตรวจสอบผู้ใช้งานว่าสามารถเข้าใช้งานได้หรือไม่โดยไปที่หน้าแอดมิน จัดการผู้ใช้งาน คลิ๊กขวาที่รายชื่อนั้นๆแล้วเลือก ทดสอบผู้ใช้งาน 

หากผลลัพธ์ได้ที่เป็นดังภาพให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • ตรวจสอบการทำงานของ Freeradius ว่าทำงานสมบูรณ์หรือไม่ด้วยคำสั่ง
  • netstat -tunelp จะต้องมีค่าดังต่อไปนี้
udp        0      0 0.0.0.0:1812            0.0.0.0:*                           108        40956       10296/freeradius
udp        0      0 0.0.0.0:1813            0.0.0.0:*                           108        40957       10296/freeradius
udp        0      0 0.0.0.0:1814            0.0.0.0:*                           108        40958       10296/freeradius
  • หากไม่มีค่าดังนี้ต้องตรวจสอบต่อว่าทำไม Freeradius ถึงไม่ทำงานด้วยการดีบักโดยใช้คำสั่ง
  • freeradius -X

จากรูปแสดงให้เห็นว่า Freeradius รายงานว่าโปรแกรมไม่สามารถเริ่มการทำงานได้เพราะมีการตั้งค่าบางอย่างผิดพลาดนั่นคือโฮสไม่ถูกต้องให้เข้าไปแก้ไขที่ไฟล์ /etc/freeradius/clients.conf บรรทัดที่ 2 เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วสั่งเริ่มการทำงานใหม่ด้วยคำสั่ง

  • /etc/init.d/freeradius restart
* Stopping FreeRADIUS daemon freeradius
 * /var/run/freeradius/freeradius.pid not found...
   ...done.
 * Starting FreeRADIUS daemon freeradius
   ...done.

-:- นี่เป็นเพียงตัวอย่างการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบ Radius คุณสามารถนำแนวทางนี้ไปปรับใช้แก้ไข ให้เป็นไปตามรูปแบบของปัญหาที่คุณพบเจอ -:-

 

เนื่องจากคุณสมบัติของ Server ที่หลายคนนำมาใช้งานไม่เหมือนกันการปรับค่าต่างๆอาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการขั้นต่ำของระบบ หรือการทำงานได้ที่ดีที่สุดของระบบได้ ดังนั้นคุณสามารถปรับค่าต่างๆที่ควรจะเป็นให้เป็นของคุณเองผ่านสคริปที่จะแนะนำการปรับค่าต่างๆให้กับคุณด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

  • cd /root
  • perl mysqltuner.pl

จากภาพสคริปจะรายงานข้อมูลต่างๆของฐานข้อมูลของคุณ และจะแนะนำให้คุณปรับแต่งค่าต่างๆตามที่สคริปรายงานเราได้ปรับค่าให้คุณส่วนหนึ่งแล้วคุณสามารถปรับค่าต่างๆได้จากด้วยคำสั่ง

  • nano /etc/mysql/my.cnf

 

Airlink ถูกพัฒนาต่อยอดมาเรื่อยๆ โดยมีกำลังสำคัญในการพัฒนาโปรแกรม 3-4 คน เราไม่เคยรู้จักกัน และเคยเห็นหน้ากันมาก่อน แต่เรามีจิดใจและความมุ่งมั่นเดียวกัน นั่นคือ "จิตอาสา และ การให้" เป้าหมายที่จะทำให้โปรแกรมนี้สมบูรณ์ที่สุด

-:- ผู้พัฒนาโปรแกรมรุ่นแรก คือ พี่ตาร์ ออกมาในชื่อ Mini Hotspot เดิมยังทำไม่สมบูรณ์เพราะมีงานที่ต้องรับผิดชอบ -:-

ผู้พัฒนาและผู้ที่มีส่วนร่วมในปัจจุบัน

Sarto Nice พัฒนาในส่วนของโปรแกรมควบคุมการทำงานและการแสดงผลทั้งหมดของโปรแกรม

พี่ซัน ช่วยเหลือเรื่อง Kernel และไฟล์วอลของระบบและให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยของ Server

พี่เอม เรื่องสคริปการติดตั้ง การค้นหาจุดบกพร่องและช่วยทดสอบโปรแกรม

พี่พงษ์ สนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการใช้งาน การทดลองโปรแกรม

พี่เดีย คอยทำคู่มือการใช้งานให้หลายๆคนได้อ่าน

น้องอั๋น วิดีโอการติดตั้ง การให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้งานที่มีปัญหา

น้องแม๊กซ์ ช่วยปรับปรุงโค้ดบางจุดที่แสดงผลผิดพลาด

Itmanager Sapan สำหรับคู่มือการติดตั้งบน Vmware และ Vbox

###############################################################################

และขอขอบคุณจากใจจริงๆสำหรับผู้ที่สนับสนุนผมด้วยดีมาตลอดไม่ว่าจะเป็นกำลังใจ และทุนทรัพย์จากหลายๆท่าน 

คำแนะนำดีๆที่มี ให้ผมมาโดยตลอด ขอน้อมรับใว้ด้วยใจ ^_^

หากคุณต้องการรูปแบบของธีมหรือส่วนแสดงผลต่างๆสำหรับส่วนผู้ใช้งาน ให้เป็นรูปแบบของคุณโดยเฉพาะ เรารับออกแบบธีมสำหรับ Airlink ให้เป็นธีมของคุณโดยเฉพาะ ธีมที่คุณจ้างเราออกแบบจะไม่นำไปใช้สำหรับสาธารณะ

-:- ชุดละ 500 บาท -:-
สิ่งที่คุณจะได้จากธีมที่เราจะจัดทำให้

  • รูปแบบแสดงผลสำหรับ หน้าล็อกอิน Desktop 
  • รูปแบบแสดงผลสำหรับ หน้าล็อกอิน Mobile 
  • รูปแบบแสดงผลสำหรับหน้าลงทะเบียน Desktop,Mobile
  • ส่วนของผู้ใช้งานสำหรับ Desktop,Mobile
  • ทุกธีมแสดงผลแบบ Cross Browser และเป็น Responsive

ติดต่องานจัดทำธีมได้ที่ https://www.facebook.com/sartonice